วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปัจจัยในการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งของธุรกิจ

ปัจจัยในการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งของธุรกิจ

ปัจจัยในการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งของธุรกิจ
*   ลักษณะประชากร
                 โดยทำการศึกษาในเรื่องต่างๆ  เช่น       เพศ   เชื้อชาติ      ศาสนา   การกระจายตัวโดยทั่วไปและผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้ามีการจัดกลุ่มอายุเท่าไร เพศใดหรือในบริเวณนั้นมีคนโสด  วัยรุ่น   และครัวเรือนที่อยู่เป็นครอบครัวจำนวนเท่าใดเชื้อชาติ  ศาสนาใด มีผลดีหรือ  ผลเสียต่อธุรกิจที่เราตั้งอยู่หรือเปล่า  ประชากรเหล่านั้นประกอบอาชีพอะไร   เป็นต้น    ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการคาดคะเนยอดขายสินค้า  เพื่อนำมาพิจารณาว่าทำเลนั้นมีผลต่อยอดขายสินค้าหรือบริการมากน้อยเพียงใด
                ในระยะเริ่มแรกควรที่จะทราบจำนวนที่แน่นอนของประชากรของที่อยู่ในพื้นที่ย่านนั้น
                โดยใช้วิธีแยกพิจารณารายละเอียดดังนี้
             1. เพศ   พิจารณาว่าประเภทในการประกอบการในลักษณะใด เช่น  สปา  สถานเสริมความงาม   ร้านเสริมสวย  สถานที่ออกกำลังกาย  ควรเลือกทำเลอยู่ในย่านที่มีเพศหญิงอาศัยอยู่มาก 
             ทั้งนี้ควรพิจารณาด้วยว่าอำนาจซื้อหรือรายได้ของลูกค้ามากหรือน้อยเพียงใดอาจพิจารณาจากอาชีพ  เป็นหลัก  ส่วนร้านค้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์  กลไกหรือ  อู่ซ่อมรถ  ร้านเช่าพระเครื่อง  ควรเลือกทำเลอยู่ในย่านที่มีเพศชายอาศัยอยู่  เป็นต้น  ทั้งนี้ในการพิจารณาถือว่ายากมากเพราะทั้งเพศชายและ เพศหญิงอยู่กันเป็นครอบครัว
              2. เชื้อชาติ    การเลือกทำเลที่ตั้งของธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านค้าปลีกถ้าพิจารณาจาก
เชื้อชาติเป็นเกณฑ์นั้นควร  ศึกษารายละเอียดให้เข้าใจถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิตของแต่ละชาติเช่นถ้าเราต้องการจำหน่ายสินค้าที่เป็นเครื่องเซ่นไหว้สักการะตามประเพณีจีนที่ตั้งของธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมประเภทร้านค้าปลีกควรอยู่ในย่านของคนเชื้อสายจีน  เป็นต้น  
               3. ศาสนา  ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีความศรัทธา  ความเชื่อ  ตลอดจนมีเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
ความเชื่อนี้เองทำให้ร้านค้าปลีกต้องทราบว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย  มีแนวความคิดเป็นอย่างไรยอมรับหรือต่อต้าน ร้านค้าปลีกที่เรากำลังดำเนินธุรกิจอยู่  เช่นไม่ขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุกรในย่านที่พักอาศัยของชุมชนชาวอิสลาม  จะถูกต่อต้านในทางตรงกันข้ามหากเราขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับไก่จะดำเนินไปได้ด้วยดี  เป็นต้น 

                4.  การกระจายตัวและความหนาแน่นของประชากร
                      เป้าหมายของการพิจารณาการกระจายตัวและความหนาแน่นของประชากรก็เพื่อเป็นการคาดคะเนยอดขายสินค้าที่จะเกิดขึ้นเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาว่าในทำเลนั้น ๆ  ควรจะมียอดขายเท่าใด  ในขั้นแรกควรจะต้องทราบจำนวนที่แน่นอนของครัวเรือนในบริเวณหรือย่านที่ต้องประกอบการธุรกิจนั้น  และเมื่อทราบจำนวนดังกล่าวแล้วควรพิจารณาถึงแนวโน้มในอนาคตว่าการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรในบริเวณดังกล่าวว่า มีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นหรือลดลงทั้งนี้อาจพิจารณาได้จากจำนวนสิ่งอำนวยความสะดวก  สาธารณูปโภค  ตลอดจนอาคารบ้านเรือนในบริเวณที่ประชากรอาศัยอยู่นั้นมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง  ถ้าหากเพิ่มขึ้นแสดงว่าความหนาแน่นประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  ในทางตรงกันข้ามถ้าหากไม่มีการเพิ่มขึ้นของสิ่งปลูกสร้าง   แสดงว่าประชากรมีแนวโน้มเท่าเดิม  หรือลดลง
                   การศึกษาลักษณะบางประการของประชากรว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจร้านค้าที่เราประกอบการอยู่ เช่น  คนเชื้อสายจีน  กรรมกรหรือผู้ใช้แรงงาน    เป็นต้น เพราะถ้าหากไม่เป็นกลุ่มเป้าหมาย  การเลือกทำเลจะไม่เกิดผลดีแก่ธุรกิจและ พิจารณาอีกว่าแนวโน้มของประชากรในบริเวณที่ผู้ประกอบธุรกิจค้าอยู่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ เช่น ค่านิยม แนวคิด ทัศนคติ ความเชื่อไปในทางใด การศึกษาเมืองอย่างรอบคอบจะทำให้ทราบว่าประชากรกำลังเพิ่มขึ้นหรือลดลง จากการศึกษานี้ทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกสามารถกำหนดขอบเขตและการจัดกลุ่มอายุประชากรของชุมชนได้ เช่นกลุ่มอายุที่เป็นวัยรุ่นมีอัตราส่วนร้อยละที่สูงหรือต่ำ จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของธุรกิจ สินค้าและบริการตลอดจนปัจจัยที่มีความสำคัญต่อธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าที่มุ่งลูกค้าวัยรุ่น
                    สำหรับธุรกิจประเภทหาบเร่แผงลอยนั้น ทำเลที่ตั้งเป็นกระบวนการที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาไม่หยุดอยู่กับที่โดยที่ไม่ได้สิ้นสุดเมื่อธุรกิจดำเนินงาน แต่จะมีความต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิตของธุรกิจ เจ้าของธุรกิจจะต้องเลือกที่ตั้งให้เหมาะสม  ซึ่งต้องสามารถตอบสนองลูกค้าที่เดินผ่านไปมา  ทำเลที่ตั้งของธุรกิจที่ดีที่สุดจะส่งผลดีต่อธุรกิจซึ่งสามารถสะท้อนถึงสภาพแวดล้อมและสภาพของธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น