วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะการตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย

การตั้งถิ่นฐานของคนไทย
ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ในทุกๆด้าน อาทิ ดิน น้ำ ป่าไม้ และยังมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิต จากปัจัยดังกล่าว จึงส่งผลต่อการตั้งถิ่นฐานของคนไทยที่จะตั้งถิ่นฐานตามพื้นที่ ที่สามารถนำเอาทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์คนไทยจึงนิยมที่จะตั้งถิ่นฐานตามที่ราบริมฝั่ง
แม่น้ำที่สำคัญๆไหลผ่าน เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม จึงจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูก การทำประมง รวมไปถึงการคมนาคมขนส่งต่างๆ นอกจากนั้นการที่คนไทยนิยมตั้งถิ่นฐานตามที่ราบริมฝั่งแม่น้ำจึงส่งผลให้เกิดวิถีชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีต่างๆที่สัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่ เช่น ลอยกระทง  ไหลเรือไฟ เป็นต้น
ในปัจจุบันการตั้งถิ่นฐานของคนไทยได้เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาในด้านของระบบอุตสาหกรรม มีการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นอย่างมากมายจึงก่อให้เกิดอาชีพใหม่ขึ้นมาเพื่อนำมนุษย์เข้าสู่กิจกรรมการผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่ให้ค่าตอบแทนที่สูงและยังมีลักษณะงานที่ลำบากน้อยกว่าการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่เคยทำมาจึงส่งผลให้คนไทยในชนบทพากันอพยพเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ ระบบการตั้งถิ่นฐานของคนไทยจึงเปลี่ยนไปจากอดีตที่เคยอาศัยอยู่ตามที่ราบในชนบทเปล่ยนมาเป็นการนิยมตั้งถิ่นฐานในเขตอุตสาหกรรมต่างๆอันเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ น้ำเสีย มลภาวะต่างๆ ปัญหาสังคม อาทิ ชุมชนแออัด ยาเสพติด อาชญากรรม เป็นต้น
เมื่อความก้าวหน้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ระบบอุตสาหกรรมต่างๆจึงต้องการวัตถุดิบเพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการผลิตมากขึ้น ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์หมดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียสมดุลและเกิดปัญหาต่างๆตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นดินถล่ม แผ่นดินไหว ปัญหาที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ ปัญหาเหล่านี้ล้วนแต่สร้างความเสียหายแก่มนุษย์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายและจิตใจอันรวมไปถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ด้วยเพราะเมื่อสิ่งดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้วก็จะเกิดความเสียหายให้กับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ด้วย จึงจำเป็นที่หน่วยงานของรัฐจะต้องมามีบทบาทในการให้คามช่วยเหลือประชาชนเหล่านั้น ดังจะเห็นได้จากการที่ทหารซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหน่วยงานหนึ่งได้เข้ามามีส่วนในการสร้างที่พักอาศัยให้แก่ผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ หรือในกรณีโคลนถล่มที่ อ.หล่มสัก นอกจากนั้นทหารยังมีหน้าที่ในการพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเพื่อนำความเจริญมาสู่ชุมชนไทยในพื้นที่ ที่ห่างไกล เช่น การสร้างศูนย์ราชการต่างๆ การสร้างถนนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว จึงเกิดการรวบรวมกลุ่มเพื่อตั้งบ้านเรือนและจัดการกับสิ่งรอบตัวให้เหมาะกับการดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานนั้น ๆ ดังนี้
ก.ปัจจัยทางกายภาพ แบ่งได้เป็น
๑) โครงสร้างและระดับความสูงของพื้นที่ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า เขตที่ราบมีความเหมาะสมที่จะตั้งถิ่นฐานมากกว่าเขตที่สูงหรือภูเขา เนื่องจากลักษณะพื้นที่กว้างขวางราบเรียบทำให้สามารถเพาะปลูกได้สะดวก และเขตที่ราบมักจะมีดินอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกพืชได้หลายชนิดมากกว่า สำหรับพื้นที่สูงหรือทุรกันดารซึ่งเข้าถึงลำบากนั้น มีเหตุจูงใจให้มนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้าง เช่น เพื่อความปลอดภัยจากการรุกราน หรือหากจำเป็นต้องตั้งถิ่นฐานตามภูเขาก็มักจะเลือกอยู่อาศัยในลาดเขาด้านที่เหมาะสม
๒) อากาศ อากาศมีผลโดยตรงต่อมนุษย์เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการกำหนดลักษณะดินและพืช สภาพของดินฟ้าอากาศมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน มีอิทธิพลต่อการสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย และวิถีการดำรงชีวิต จากแผนที่แสดงการกระจายตัวประชากรจะเห็นได้ว่า ประชาชนจะอยู่กันหนาแน่นในเขตที่มีอากาศเหมาะสม ส่วนบริเวณที่มีอากาศปรวนแปรจะมีประชาชนเบาบาง หรือปราศจากผู้อยู่อาศัย
๓) น้ำ ปัจจัยในเรื่องน้ำมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานมาก โดยเฉพาะในสมัยโบราณการตั้งถิ่นฐานทุกแห่งเป็นการหาพื้นที่ที่จะทำการเกษตรด้วย น้ำที่ใช้ในการหาพื้นที่ที่จะทำการเกษตรด้วย น้ำที่ใช้ในการทำเกษตรกรรมไม่จำเป็นต้องมาจากฝนหรือแหล่งน้ำลำธารแต่เพียงอย่างเดียว ในบางแห่งที่ขาดฝน อาจหาแหล่งน้ำอื่น ๆ มาใช้เพื่อการเกษตร เช่น น้ำบาดาล
ข.ปัจจัยทางวัฒนธรรม
การที่มนุษย์ครอบครองพื้นที่เพื่อตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน ณ ที่ใดที่หนึ่งย่อมมีอิทธิพลต่อสภาพธรรมชาติ รวมทั้งเกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในถิ่นฐานเดียวกัน และระหว่างถิ่นฐานต่าง ๆ
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างออกไปในถิ่นฐานแต่ละแห่ง สามารถจำแนกได้เป็น
๑) ภาษา โดยเฉพาะภาษาพูด ถือว่าเป็นตัวแทนของลักษณะวัฒนธรรม ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่สืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไปกลุ่มวัฒนธรรมดั้งเดิมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไป กลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ มักมีภาษาของตนเอง จึงใช้ภาษาเป็นเครื่องวัดความแตกต่างของวัฒนธรรมได้ ภาษาจึงอาจเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การห้ามใช้ภาษาต่างประเทศของจนภูมิใจในชาติของตนรวมทั้งรักเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนยิ่งขึ้น
๒) ศาสนา ศาสนาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรม ความเชื่อถือยึดมั่นและการปฏิบัติตามหลักของศาสนาเป็นหลักที่กำหนดวิถีชีวิตในท้องถิ่น สถานที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาอาจทำให้ท้องถิ่นหนึ่งมีความสำคัญมากกว่าท้องถิ่นอื่น วัด โบสถ์ และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทางศาสนา จะมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของชาตินั้น ๆ ศาสนาอาจมีอิทธิพลต่อการเกษตรกรรม การบริโภคอาหาร ตลอดจนด้านเศรษฐกิจ
๓) การเมือง อิทธิพลทางการเมืองมีผลต่อพื้นที่ตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินทำกิน เช่น กฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กฎหมายเกี่ยวกับการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พระราชกำหนดยกเลิกสัมปทานป่าไม้ เป็นต้น
ค.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสภาพแวดล้อมและระดับความเจริญทางเทคโนโลยี ตัวอย่างของวิวัฒนาการการประกอบอาชีพที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ได้แก่
๑) การเพาะปลูก การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์แบบถาวรเริ่มขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักเพราะปลูกด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งผลิตผลตามธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว และการตั้งถิ่นฐานแบบถาวรนี้ มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมาก ตัวอย่างเช่น การทำไร่เลื่อนลอย เป็นการเพาะปลูกแบบไม่บำรุงดิน เมื่อดำเนินไปหลายปี จะทำให้ดินเสื่อมสภาพลง และต้องย้ายไปหาที่เพาะปลูกใหม่หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ เป็นการทำลายป่าและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนการเพาะปลูกแบบไร่นาสวนผสมจะมีการดุแลบำรุงดินที่ดีกว่า ทำให้สามารถคงความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ได้
๒) การเลี้ยงสัตว์ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ การเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค ไว้ใช้งาน และไว้ขาย ส่วนใหญ่จะทำในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์แบบอยู่เป็นที่จะไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากเท่ากับการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน
๓) อุตสาหกรรม เป็นการนำผลิตผลมาดัดแปลงหรือแปรสภาพให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะซับซ้อน ในเนื้อที่น้อย ต้องใช้วัตถุดิบและเชื้อเพลิงจำนวนมากในการผลิต มีการใช้แรงงาน ตลอดจนต้องการความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการนำวัตถุดิบเข้าสู่โรงงานและผลิตผลจากโรงงานออกสู่ตลาด ทำให้เกิดการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้เกิดชุมชนขึ้นและมีการขยายตัวทั้งชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งย่อมจะมีผลต่อการเติบโตของเมืองอย่างกว้างขวาง

ความสัมพันธ์ของการตั้งถิ่นฐานกับสภาพแวดล้อม
เมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน มนุษย์จะรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม สร้างบ้านเรือนแหล่งที่อยู่อาศัย ทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ มีกิจกรรมร่วมกัน และมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อเลือกสถานที่ที่จะตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยแล้ว มนุษย์ก็เริ่มจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัว เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการดำรงชีพ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวสามารถแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
๑) สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ มหาสมุทร พื้นดิน แร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้ และสัตว์ป่า เป็นต้น
๒) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน ถนน รถยนต์ เขื่อนกักเก็บน้ำ เป็นต้น รวมตลอดถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ และสังคมด้วย
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นถิ่นฐานมนุษย์ โดยมีขนบธรรมเนียม ประเพณีระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้น และข้อจำกัดทางธรรมชาติเป็นกฎเกณฑ์ และเป็นหลักสำหรับการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้การดำรงชีวิตเป็นไปอย่างผาสุก และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
มนุษย์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เราเรียกกันว่าระบบนิเวศ ผลกระทบนั้นเป็นไปได้ทั้งในทางทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น หรือในทางทำลายให้เลวลง แต่ถ้าเราไม่มีการวางแผนเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานแล้ว ย่อมทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมลง การตั้งถิ่นฐานที่ขาดการควบคุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี ก็เป็นปัจจัยอีกตัวหนึ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จากการที่เรามุ่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ขยายการก่อสร้างปัจจัยพื้นฐาน เช่น ถนน เขื่อน สนามบิน ท่าเรือ เป็นต้น การที่เราเร่งผลิตสินค้าและบริการให้ทันกับความต้องการของถิ่นฐานที่ขยายใหญ่ขึ้น เหล่านี้ทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก จากกระบวนการพัฒนาและผลิตนี้เอง ทำให้มีของเสียเหลือทิ้งออกมาในรูปต่าง ๆ เจือปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้ความสมดุลของธรรมชาติเสียไป
เมื่อสิ่งแวดล้อมถูกทำลายและมีของเสียปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งแวดล้อมก็จะอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและอาจจะรุนแรงถึงขั้นเป็นพิษเป็นภัยได้ การที่สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและเป็นพิษ จะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพและอนามัยของมนุษย์ อีกทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่หยุดยั้งและไม่ระมัดระวัง จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติสูญสิ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ความเสื่อมโทรมของสิ่มแวดล้อมในปัจจุบันนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในรูปปัญหาทางสังคมอีก ซึ่งเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนยที่ตั้งถิ่นฐานอยู่จะต้องช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดี มีคุณภาพเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไปในวันข้างหน้า

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

Lab.6 ปฏิบัติการ SQL

h. จากข้อ e เมื่อแปลผลออกมาเป็นภาษาของมนุษย์จะได้ว่า " ให้เลือกแสดงฟิลด์รหัสนิสิต ชื่อนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษา และชั้น จากตารางนักเรียน ( student ) โดยมีเงื่อนไขคือเป็นนิสิตชั้นปี 2 " ให้ลอกแปลข้อ f ออกมาเป็นภาษาคำภามของมนุษย์

ตอบ    F: SELECT  studentid , Name, Advisor, Class, Hobby FROM student
WHERE Hobby LIKE
  " อ่านหนังสือ "




I:  ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลด้วยภาษาSQLตามคำถาม  ให้เลือกฟิลด์ทั้งหมดจากตารางรายวิชา( subject) "
 ตอบ  SELECT subjectid , Name, Credit, Book, Teacher FROM subject;   




J :  ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลด้วยภาษาSQLตามคำถาม"ให้เลือกฟิลด์รหัสรายวิชา ชื่อรายวิชา และจำนวนหน่วยกิต 
จากตารางรายวิชา(subject)"
 ตอบ   SELECT subjectid , Name ,Credit  FROM subject;



k: ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลด้วยภาษาSQLตามคำถาม"ใฟ้เลือกฟิลด์รหัสรายวิชา ชื่อรายวิชา 
และจำนวนหน่วยกิต จากตารางรายวิชา(subject) โดยมีเงือนไขคือเป็นรายวิชา 104111"
ตอบ  SELECT subjectid , Name, Credit FROM subject  WHERE subjectid =104111;



o:  จากข้อ "m" เมื่อแปลออกมาเป็นภาษาคำถามของมนุษย์จะได้ว่า "ให้เลือกแสดงฟิลด์รหัสนิสิต
 ชื่อนิสิต คะแนน เกรด และชื่อรายวิชา จากตารางนักเรียน(student) การลงทะเบียน(Register) 
และรายวิชา(Subject) โดยมีเงือนไขคือแสดงเฉพาะนิสิตรหัส 4902 เท่านั้น"ให้ลองแปล "n" 
ออกมาเป็นภาษาคำถามของมนุษย์
ตอบ   ให้เลือกแสดงฟิลด์รหัสนิสิต ชื่อนิสิต คะแนน เกรด และชื่อรายวิชา จากตารางนักเรียน
(student) การลงทะเบียน(Register) และรายวิชา(Subject) โดยมีเงือนไขคือแสดง
รหัสรายวิชา104111เท่านั้น










P:   ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลด้วยภาษาSQLตามคำถาม"ให้เลือกแสดงฟิลด์รหัสนิสิต ชื่อนิสิ
ต คะแนน เกรด และชื่อรายวิชา จากตารางนักเรียน(Student)การลงทะเบียน(Register)
  และรายวิชา(Subject) โดยมีเงือนไขคือแสดงเฉพาะรายวิชารหัส 104111เท่านั้น
 และนิสิตอยู่ในชมรมภูมิศาสตร์เท่านั้น"
ตอบ      SELECT Student.Studentid,student.Name,Register.Score,Register.Grade,
Subject.Name ,student.Club  FROM Register,student,Subject 
WHERE Register.Studentid=student.Studentid AND 
Register.Subjectid=Subject.Subjectid AND Register.Subjectid=104111
 AND student.Club='ภูมิศาสตร์';



วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

VectorและRaster Graphics


VectorและRasterGraphicsคืออะไร
คุณทราบไหมครับว่า กราฟฟิคในโลกของคอมพิวเตอร์โดยทั่วๆ ไปแล้วจะแบ่งออกเป็นสองประเภทครับ นั่นก็คือ แบบ Vector และอีกอย่างก็
คือ แบบ Raster (หรือเรียกอีกอย่างว่า Bitmap) ซึ่งโปรแกรมกราฟฟิคต่างๆ ในท้องตลาดทุกวันนี้บางตัวก็เป็นแบบ Vector บางโปรแกรม
ก็เป็นแบบ Raster ในขณะที่บางโปรแกรมสามารถจัดการได้ทั้ง Vertor และ Raster ภายในตัวเดียวกัน ต่อไปนี้เราจะมาดูกันครับว่ากราฟฟิค
ทั้งสองแบบนี้คืออะไรและมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
Vector Graphic คือ การเก็บรูปแบบของภาพหรืองานกราฟฟิค ในรูปของภาษาทางคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง โดยภาษาที่ว่านี้จะเก็บข้อมูลของ
วัตถุทุกตัวที่ประกอบกันเป็นภาพ ซึ่งวัตถุนี้เราจะเรียกว่า 'Primitive' อาจจะเป็น รูปวงกลม วงรี สี่เหลี่ยม เส้นตรงหรือเส้นโค้ง ก็ได้ ภาษาดังกล่าว
จะทำการบันทึกเฉพาะจุดพิกัดของวัตถุที่ว่านี้เท่านั้น เช่น จุดเริ่มต้น หรือ จุดสิ้นสุด เป็นต้น และมีการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์เข้าช่วยในส่วนของวัตถุที่
เป็นเส้นโค้ง แล้วตัวโปรแกรมจะทำการประมวลผล (Rendering) จากภาษาดังกล่าวออกมาเป็นภาพเพื่อแสดงผลบนจอมอนิเตอร์ให้เราเห็นกัน ข้อดี
ของกราฟฟิคแบบ Vectorนี้ก็คือ คุณสมบัติที่เรียกว่า 'Scalable' นั่นก็คือ ความสามารถในการย่อหรือขยายภาพได้อย่างไม่จำกัด โดยจะไม่มีผล
กระทบกับความละเอียดของภาพ (Resolution) เราจึงสามารถพิมพ์ภาพดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธภาพ และที่เห็นอีกอย่างก็คือ ขนาดของไฟล์ที่
เป็น Vector Graphic จะมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster มาก ซึ่งคุณจะยิ่งเห็นความแตกต่างกันมากขึ้นในภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ โดย
ส่วนใหญ่ภาพแบบ Vector นี้จะใช้ในงานที่มีการใช้ลายเส้นเป็นหลัก เช่น โลโก้ ภาพการ์ตูน กราฟต่างๆ หรือแม้กระทั่งฟอนท์ที่เราใช้กันทุกวันนี้ก็จัด
เป็น Vector Graphic รูปแบบหนึ่งเช่นกัน สำหรับซอพท์แวร์ที่นิยมใช้ในงานออกแบบและจัดการกับกราฟฟิคแบบ Vector อันเป็นที่รู้จักกันก็มี
Illustrator, Freehand, Canvas และ CorelDRAW ครับ
รอยหยักเมื่อขยายภาพ
Raster Graphic จะเปรียบเสมือนกับภาพถ่าย โปรแกรมจะบันทึกและจัดการกับภาพในระดับพิกเซลซึ่งเป็นจุดสี
ต่างๆ ที่เรียงตัวกันเป็นภาพ 
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขภาพ ตัวโปรแกรมจะเปลี่ยนค่่าสีต่างๆ พิกเซลต่อพิกเซลโดย
ตรงสมมติว่าคุณใช้ ImageSetter ทำเอาท์พุทใน
ระดับ 2400 DPI นั่นหมายถึง ตัวโปรแกรมจะต้องจัดการกับ
พิกเซลเท่ากับ 2400 x 2400 ต่อตารางนิ้ว นั่นหมายถึงกว่า 5 ล้านพิกเซลต่อหนึ่งตารางนิ้วเลยทีเดียว ลองนึกดูซิ
ครับว่าข้อมูลจะใหญ่โตมหาศาลมากเพียงไร และในงานที่ใช้ภาพแบบ Photo Realistic แต่ละพิกเซลจะกินหน่วย
ความจำได้ตั้งแต่ 24 บิท ถึง 40 บิท โดย ถ้ารูปยิ่งมีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งใช้เวลาในการเอาท์พุทนานเป็นเงาตามตัวครับ
ภาพแบบ Raster มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งนั่นก็คือ คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดของภาพได้ เพราะถ้าคุณขยาย
ขนาดของภาพแล้ว จะส่งผลทำให้พิกเซลของภาพมีลักษณะเป็นบล็อคๆ และขอบจะเป็นรอยหยักคล้ายขั้นบันได (ในรูป)
กราฟฟิคแบบ Raster นี้เหมาะสำหรับใช้กับกราฟฟิคที่มีลักษณะเป็นภาพถ่ายครับ
ในงานด้านการพิมพ์หรือกราฟฟิคบนเว็บไซด์ เราอาจจะเห็นทั้งกราฟฟิคแบบ Vector และ Raster ถูกใช้ร่วมกันอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
ครับ ถ้าคุณลองหยิบแมกกาซีนขึ้นมาดูสักเล่ม คุณจะเห็นภาพถ่ายซึ่งอาจจะเป็นภาพคน (Raster) และมีตัวอักษรพร้อมโลโก้ (Vector) ทับซ้อน
ด้านบน นั่นแสดงให้เห็นว่าในงานใดๆ ก็ตามทั้ง Vector Graphic และ Raster Graphic ต่างก็มีความสำคัญพอๆ กัน ถ้าใช้อย่างเหมาะสม
ก็จะเกิดความสวยงามได้ทั้งนั้นครับ
ถ้าพูดถึงฟอร์แมทของไฟล์กราฟฟิคแล้วคุณจะพบว่ามีหลายแบบให้เราเลือกใช้ตามความเหมาะสม บางชนิดก็ใช้บันทึกกราฟฟิคแบบ Vector
อย่างเดียว บางชนิดก็ใช้บันทึกแบบ Raster อย่างเดียว บางชนิดก็บันทึกได้ทั้งสองแบบ ซึ่งฟอร์แมทที่บันทึกได้ทั้งสองแบบในตัวเดียวกันนี้ เราเรียก
ว่า 'Metafile' ครับ เราจะมาดูกันซักสองสามฟอร์แมทครับว่า มีฟอร์แมทอะไรบ้างที่เค้านิยมใช้กัน

- EPS (Encapsulated Postscript) ก็จัดเป็น Metafile ชนิดหนึ่ง คือสามารถเป็นได้ทั้ง Vector และ Raster กล่าวคือถ้าคุณ
Export EPS จากโปรแกรม Photoshop คุณจะได้ภาพแบบ Raster ถ้าคุณ Export EPS จากโปรแกรม Illustrator, Freehand
หรือ CorelDraw คุณก็จะได้ภาพแบบ Vector ครับ แต่ถ้าคุณใส่ภาพแบบ Raster ร่วมกับ Primitive ต่างๆ ใน Illus, Freehand
หรือ CorelDraw แล้ว Export EPS คุณก็จะได้กราฟฟิคทั้งแบบ Vector และ Raster ภายในไฟล์ตัวเดียวกัน
- TIFF (Tagged Image File Format) เป็นฟอร์แมทแบบ Raster อย่างเดียวเท่านั้น ในโปรแกรมกราฟฟิคระดับมืออาชีพส่วนใหญ่จะ
รองรับฟอร์แมทชนิดนี้ ทั้ง TIFF และ EPS มีข้อดีเหมือนกันคือ สามารถใช้ข้ามแพลทฟอร์มระหว่างแมคและพีซีได้และเป็นฟอร์แมทที่มีปัญหาน้อย
ที่สุดในงานพิมพ์์ ทั้งสองฟอร์แมทนี้จึงเป็นที่นิยมใช้กันในระดับมืออาชีพครับ
- WMF (Windows Metafile) เป็นฟอร์แมทแบบ Metafile อีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้บันทึกได้ทั้ง Vector และ Raster เป็นฟอร์แมท
ที่คิดค้นโดยไมโครซอพท์ตั้งแต่สมัย Windows 3.1 และจัดเป็นฟอร์แมทมาตรฐานสำหรับวินโดว์ ฟอร์แมทนี้จะมีปัญหามากถ้านำมาใช้บนแมคและ
ยังเป็นฟอร์แมทที่ไม่สามารถทำการแยกสีได้ (Color Seperations) จึงไม่เหมาะสำหรับใช้ในงานพิมพ์ครับ
- JPG (Joint Photographic Expert Group) เป็นฟอร์แมทแบบ Raster เท่านั้น ข้อดีที่เห็นชัดๆ ของฟอร์แมทนี้คือ มีความสามารถใน
การบีบอัดเพื่อลดขนาดของไฟล์ให้เล็กลงได้ ซึ่งคุณภาพของกราฟฟิคจะขึ้นอยู่กับการตั้ง Quality Setting เนื่องจากฟอร์แมทชนิดนี้สามารถใช้ได้
กับทุกแพลทฟอร์ม จึงนิยมใช้กันมากบนเว็บ และใช้ในงาน Prepress บ้างเป็นบางโอกาส
- BMP เป็นฟอร์แมทแบบ Raster อย่างเดียวเท่านั้น เปิดทั้งบนแมคและพีซี ปัจจุบันนี้มักจะไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้วครับ ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะหันไปใช้
JPG แทน แต่ก็อาจจะพบบ้างในบางโอกาส ไม่สามารถทำ Color Seperations ได้ จึงไม่มีประโยชน์ในงาน Prepress ครับ

ยังมีฟอร์แมทอื่นๆ อีกมากที่ผมไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ แค่ยกตัวอย่างให้เห็นเฉพาะที่ใช้กันทั่วไปทั้งบนแมคและพีซีเท่านั้นครับ
อะไร

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Topology

รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)  เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น 
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี 
      - ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก 
ข้อเสีย 
      - อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย 
      - การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)  เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี 
      - ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่ 
     - การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป 
      - คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน 
ข้อเสีย 
     - ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้ 
      - ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง
3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)  เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี 
      - การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย 
     - เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
4.โทโปโลยีแบบ Hybrid  เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
5.โทโปโลยีแบบ MESH  เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
ประเภทของระบบเครือข่าย Lan ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงาน
ในการแบ่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Lan นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่การเชื่อมต่อแบบ Peer - To - Peer และแบบ Client / Server
1. แบบ Peer - to - Peer เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะทีทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี
2. แบบ client-server เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่อง Client
ประเภทของระบบเครือข่ายมีอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ก็คือ การเชื่อมต่อแลนแบบไร้สาย Wireless Lan แลนไร้สาย WLAN เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ได้อย่างกว้างขวาง เหมาะที่จะใช้ได้ทั้งเครื่องพีซีตั้งโต๊ะธรรมดา และเครื่อง NoteBook ซึ่งการส่งสัญญาณติดต่อกันนั้น จะใช้สัญญาณวิทยุเป็นพาหะ ดังนั้นความเร็วในการส่งข้อมูลก็จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับระยะทาง ระยะทางยิ่งไกล ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ทำให้ช้าลงไปด้วย แลนไร้สายเหมาะที่จะนำมาใช้กับงานที่ต้องการความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน อย่างเช่นพวก เครื่อง NoteBook เพียงแต่มีอินเตอร็เฟสแลนแบบไร้สาย ก็สามารถเคลื่อนที่ไปที่ใดก็ได้ภายในของเขตของระยะทางที่กำหนด อย่างเช่นภายในตึกได้ทั่วตึกเลยที่เดียว จุดเด่น ๆ ของ Wireless Lan มีดังนี้ 
      - การเคลื่อนที่ทำได้สะดวก สามารถใช้ระบบแลนจากที่ใดก็ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ได้อีกด้วย 
     - การติดตั้งใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก 
     - การติดตั้งและการขยายระบบ ทำได้อย่างกว้างขวาง เพราะสามารถขยายไปติดตั้งใช้งาน ในพื้นที่ ที่สายสัญญาณเข้าไม่ถึง
     - เสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง เพราะว่าในปัจจุบันการส่งสัญญาณของ Wireless Lan ทำได้ไกลมากยิ่งขึ้น สามารถส่งได้ไกลกว่า 10 กม. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเช้าสายสัญญาณลงไปได้เป็นอย่างมาก
      - มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและการติดตั้ง สามารถปรับแต่งระบบให้ใช้ได้กับทุก Topology เลยทีเดียว การปรับแต่งทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย การติดตั้ง Application ต่าง ทำได้โดยง่าย
มาตราฐานของ Wireless Lan นั้นตามมาตรฐานสากล 802.11 มีอัตราการส่งสัญญาณข้อมูลได้สูงสุด 11 เมกะบิตต่อวินาที ระยะทางการรับส่งสัญญาณขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าออกแบบมาอย่างไร ถ้าเป็นการใช้ภายในอาคารสถานที่ ก็จะใช้สายอากาศแบบทุกทิศทาง จะได้ระยะทางประมาณ 50 เมตร แต่ถ้าเป็นการใช้กันแบบจุดต่อจุดหรือนอกสถานที่ ก็จะมีการออกแบบให้ใช้สายอากาศแบบกำหนดทิศทาง ให้ได้ระยะทางมากกว่า 10 กม.ได้
Lan Protocol - Ethernet
Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ตามมาตราฐานหนึ่งของ IEEE ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 มาตรฐานหลัก ๆ คือ ARCnet , Token Ring และ Ethernet ซึ่งคุณสมบัติ ข้อกำหนด ขีดจำกัด ลักษณะการใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้ และ การใช้ Topology ก็จะแตกต่างกันออกไป ดังแสดงตามตารางดังนี้
   มาตรฐาน   ความเร็วการรับส่งข้อมูล   ชนิดของสายสัญญาณ   รูปแบบของ Topology
   ARCnet   2.5 Mbps   Coaxial , UTP   Star , Bus
   Token Ring   4 หรือ 16 Mbps   UTP , STP   Ring , Star
   Ethernet   10 Mbps   Coaxial , UTP   Bus , Star
ซึ่งในที่นี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะโปรโตคอล Ethernet เท่านั้น ซึ่งโปรโตคอลของ Ethernet นี้ จะอยู่ในมาตรฐานของ IEEE 802.3 โดยได้รับการออกแบบโดย Xerox ในปี 1970 เป็นเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mbps แต่ในในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีความเร็วที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet และ Gigabit Ethernet ดังนี้
   ETHERNET
  อัตราความเร็ว 10 Mbps   อัตราความเร็ว 100 Mbps   อัตราความเร็ว 1000 Mbps   อัตราความเร็ว 10 Gbps
   บางทีจะเรียกว่า ......... ตามมาตรฐาน IEEE 802.3   ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3u   ซึ่งเรียกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3z/802.3ab   ซึ่งเรืยกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ae
ซึ่งเทคโนโลยีความเร็วดังที่กล่าวมานี้ จะตั้งอยู่บนมาตรฐาน ของ Ethernet แบบเดียวกัน คือ สายที่สามารถใช้ได้ ก็จะเป็นพวกสาย โคแอคเชียล ( Coaxial Cable ) สายแบบ เกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable - UTP ) และสายแบบ ใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable ) ส่วนโทโปโลยี ที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของ BUS กับ Ring เสียเป็นส่วนใหญ่ 
จากระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีจุดสำคัญอยู่ที่ ได้นำเอาคุณสมบัติดังที่กล่าวมา มาใช้ มาเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบ ที่ต้องการใช้ตามมาตรฐานของ Ethernet ซึ่งจะมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ด้วยกันหลายแบบ มาตรฐานในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น 10base2 , 10base5 , 10baseT , 10baseFL , 100baseTX , 100baseT4 และ 100baseFX ซึ่งมาตรฐานรูปแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ และ ระยะทางที่สามารถส่งได้ อย่างเช่น 10base2 เป็นมาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบ Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร เป็นต้น
   ETHERNET
  มาตรฐาน
การเชื่อมต่อ
   อัตราความเร็ว
การรับส่งข้อมูล
   ระยะความยาว
ในการรับส่งข้อมูล
   Topology
ที่ใช้
   สายที่ใช้ Cable   ชื่อเรียก
   10base2   10     Mbps   185 - 200 เมตร   BUS   Thin Coaxial   Thin Ethernet หรือ Cheapernet
   10base5   10     Mbps   500 เมตร     Thick Coaxial   Thick Ethernet
   10baseT   10     Mbps   100 เมตร   STAR   Twisted Pair (UTP)  
   10baseF   10     Mbps   2000 เมตร     Fiber Optic  
   100baseT   100     Mbps   ......... เมตร     Twisted Pair (UTP)   Fast Ethernet