วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

VectorและRaster Graphics


VectorและRasterGraphicsคืออะไร
คุณทราบไหมครับว่า กราฟฟิคในโลกของคอมพิวเตอร์โดยทั่วๆ ไปแล้วจะแบ่งออกเป็นสองประเภทครับ นั่นก็คือ แบบ Vector และอีกอย่างก็
คือ แบบ Raster (หรือเรียกอีกอย่างว่า Bitmap) ซึ่งโปรแกรมกราฟฟิคต่างๆ ในท้องตลาดทุกวันนี้บางตัวก็เป็นแบบ Vector บางโปรแกรม
ก็เป็นแบบ Raster ในขณะที่บางโปรแกรมสามารถจัดการได้ทั้ง Vertor และ Raster ภายในตัวเดียวกัน ต่อไปนี้เราจะมาดูกันครับว่ากราฟฟิค
ทั้งสองแบบนี้คืออะไรและมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
Vector Graphic คือ การเก็บรูปแบบของภาพหรืองานกราฟฟิค ในรูปของภาษาทางคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง โดยภาษาที่ว่านี้จะเก็บข้อมูลของ
วัตถุทุกตัวที่ประกอบกันเป็นภาพ ซึ่งวัตถุนี้เราจะเรียกว่า 'Primitive' อาจจะเป็น รูปวงกลม วงรี สี่เหลี่ยม เส้นตรงหรือเส้นโค้ง ก็ได้ ภาษาดังกล่าว
จะทำการบันทึกเฉพาะจุดพิกัดของวัตถุที่ว่านี้เท่านั้น เช่น จุดเริ่มต้น หรือ จุดสิ้นสุด เป็นต้น และมีการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์เข้าช่วยในส่วนของวัตถุที่
เป็นเส้นโค้ง แล้วตัวโปรแกรมจะทำการประมวลผล (Rendering) จากภาษาดังกล่าวออกมาเป็นภาพเพื่อแสดงผลบนจอมอนิเตอร์ให้เราเห็นกัน ข้อดี
ของกราฟฟิคแบบ Vectorนี้ก็คือ คุณสมบัติที่เรียกว่า 'Scalable' นั่นก็คือ ความสามารถในการย่อหรือขยายภาพได้อย่างไม่จำกัด โดยจะไม่มีผล
กระทบกับความละเอียดของภาพ (Resolution) เราจึงสามารถพิมพ์ภาพดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธภาพ และที่เห็นอีกอย่างก็คือ ขนาดของไฟล์ที่
เป็น Vector Graphic จะมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster มาก ซึ่งคุณจะยิ่งเห็นความแตกต่างกันมากขึ้นในภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ โดย
ส่วนใหญ่ภาพแบบ Vector นี้จะใช้ในงานที่มีการใช้ลายเส้นเป็นหลัก เช่น โลโก้ ภาพการ์ตูน กราฟต่างๆ หรือแม้กระทั่งฟอนท์ที่เราใช้กันทุกวันนี้ก็จัด
เป็น Vector Graphic รูปแบบหนึ่งเช่นกัน สำหรับซอพท์แวร์ที่นิยมใช้ในงานออกแบบและจัดการกับกราฟฟิคแบบ Vector อันเป็นที่รู้จักกันก็มี
Illustrator, Freehand, Canvas และ CorelDRAW ครับ
รอยหยักเมื่อขยายภาพ
Raster Graphic จะเปรียบเสมือนกับภาพถ่าย โปรแกรมจะบันทึกและจัดการกับภาพในระดับพิกเซลซึ่งเป็นจุดสี
ต่างๆ ที่เรียงตัวกันเป็นภาพ 
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขภาพ ตัวโปรแกรมจะเปลี่ยนค่่าสีต่างๆ พิกเซลต่อพิกเซลโดย
ตรงสมมติว่าคุณใช้ ImageSetter ทำเอาท์พุทใน
ระดับ 2400 DPI นั่นหมายถึง ตัวโปรแกรมจะต้องจัดการกับ
พิกเซลเท่ากับ 2400 x 2400 ต่อตารางนิ้ว นั่นหมายถึงกว่า 5 ล้านพิกเซลต่อหนึ่งตารางนิ้วเลยทีเดียว ลองนึกดูซิ
ครับว่าข้อมูลจะใหญ่โตมหาศาลมากเพียงไร และในงานที่ใช้ภาพแบบ Photo Realistic แต่ละพิกเซลจะกินหน่วย
ความจำได้ตั้งแต่ 24 บิท ถึง 40 บิท โดย ถ้ารูปยิ่งมีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งใช้เวลาในการเอาท์พุทนานเป็นเงาตามตัวครับ
ภาพแบบ Raster มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งนั่นก็คือ คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดของภาพได้ เพราะถ้าคุณขยาย
ขนาดของภาพแล้ว จะส่งผลทำให้พิกเซลของภาพมีลักษณะเป็นบล็อคๆ และขอบจะเป็นรอยหยักคล้ายขั้นบันได (ในรูป)
กราฟฟิคแบบ Raster นี้เหมาะสำหรับใช้กับกราฟฟิคที่มีลักษณะเป็นภาพถ่ายครับ
ในงานด้านการพิมพ์หรือกราฟฟิคบนเว็บไซด์ เราอาจจะเห็นทั้งกราฟฟิคแบบ Vector และ Raster ถูกใช้ร่วมกันอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
ครับ ถ้าคุณลองหยิบแมกกาซีนขึ้นมาดูสักเล่ม คุณจะเห็นภาพถ่ายซึ่งอาจจะเป็นภาพคน (Raster) และมีตัวอักษรพร้อมโลโก้ (Vector) ทับซ้อน
ด้านบน นั่นแสดงให้เห็นว่าในงานใดๆ ก็ตามทั้ง Vector Graphic และ Raster Graphic ต่างก็มีความสำคัญพอๆ กัน ถ้าใช้อย่างเหมาะสม
ก็จะเกิดความสวยงามได้ทั้งนั้นครับ
ถ้าพูดถึงฟอร์แมทของไฟล์กราฟฟิคแล้วคุณจะพบว่ามีหลายแบบให้เราเลือกใช้ตามความเหมาะสม บางชนิดก็ใช้บันทึกกราฟฟิคแบบ Vector
อย่างเดียว บางชนิดก็ใช้บันทึกแบบ Raster อย่างเดียว บางชนิดก็บันทึกได้ทั้งสองแบบ ซึ่งฟอร์แมทที่บันทึกได้ทั้งสองแบบในตัวเดียวกันนี้ เราเรียก
ว่า 'Metafile' ครับ เราจะมาดูกันซักสองสามฟอร์แมทครับว่า มีฟอร์แมทอะไรบ้างที่เค้านิยมใช้กัน

- EPS (Encapsulated Postscript) ก็จัดเป็น Metafile ชนิดหนึ่ง คือสามารถเป็นได้ทั้ง Vector และ Raster กล่าวคือถ้าคุณ
Export EPS จากโปรแกรม Photoshop คุณจะได้ภาพแบบ Raster ถ้าคุณ Export EPS จากโปรแกรม Illustrator, Freehand
หรือ CorelDraw คุณก็จะได้ภาพแบบ Vector ครับ แต่ถ้าคุณใส่ภาพแบบ Raster ร่วมกับ Primitive ต่างๆ ใน Illus, Freehand
หรือ CorelDraw แล้ว Export EPS คุณก็จะได้กราฟฟิคทั้งแบบ Vector และ Raster ภายในไฟล์ตัวเดียวกัน
- TIFF (Tagged Image File Format) เป็นฟอร์แมทแบบ Raster อย่างเดียวเท่านั้น ในโปรแกรมกราฟฟิคระดับมืออาชีพส่วนใหญ่จะ
รองรับฟอร์แมทชนิดนี้ ทั้ง TIFF และ EPS มีข้อดีเหมือนกันคือ สามารถใช้ข้ามแพลทฟอร์มระหว่างแมคและพีซีได้และเป็นฟอร์แมทที่มีปัญหาน้อย
ที่สุดในงานพิมพ์์ ทั้งสองฟอร์แมทนี้จึงเป็นที่นิยมใช้กันในระดับมืออาชีพครับ
- WMF (Windows Metafile) เป็นฟอร์แมทแบบ Metafile อีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้บันทึกได้ทั้ง Vector และ Raster เป็นฟอร์แมท
ที่คิดค้นโดยไมโครซอพท์ตั้งแต่สมัย Windows 3.1 และจัดเป็นฟอร์แมทมาตรฐานสำหรับวินโดว์ ฟอร์แมทนี้จะมีปัญหามากถ้านำมาใช้บนแมคและ
ยังเป็นฟอร์แมทที่ไม่สามารถทำการแยกสีได้ (Color Seperations) จึงไม่เหมาะสำหรับใช้ในงานพิมพ์ครับ
- JPG (Joint Photographic Expert Group) เป็นฟอร์แมทแบบ Raster เท่านั้น ข้อดีที่เห็นชัดๆ ของฟอร์แมทนี้คือ มีความสามารถใน
การบีบอัดเพื่อลดขนาดของไฟล์ให้เล็กลงได้ ซึ่งคุณภาพของกราฟฟิคจะขึ้นอยู่กับการตั้ง Quality Setting เนื่องจากฟอร์แมทชนิดนี้สามารถใช้ได้
กับทุกแพลทฟอร์ม จึงนิยมใช้กันมากบนเว็บ และใช้ในงาน Prepress บ้างเป็นบางโอกาส
- BMP เป็นฟอร์แมทแบบ Raster อย่างเดียวเท่านั้น เปิดทั้งบนแมคและพีซี ปัจจุบันนี้มักจะไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้วครับ ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะหันไปใช้
JPG แทน แต่ก็อาจจะพบบ้างในบางโอกาส ไม่สามารถทำ Color Seperations ได้ จึงไม่มีประโยชน์ในงาน Prepress ครับ

ยังมีฟอร์แมทอื่นๆ อีกมากที่ผมไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ แค่ยกตัวอย่างให้เห็นเฉพาะที่ใช้กันทั่วไปทั้งบนแมคและพีซีเท่านั้นครับ
อะไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น