วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กรรมสิทธิ์ในที่ดิน

กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือที่กฏหมายเรียก ” แดนกรรมสิทธิ์” นั้น มีประเด็นในช้อกฏหมายที่ถือเป็นหลักปฏิบัติดังนี้คือ
1. ใน ทางกฏหมายถือว่าแดนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น หมายถึงเหนือ พื้นดิน และ ใต้พื้นดินด้วย ดังนั้น เจ้าของที่ดิน จึงมีสิทธิ ใช้ประโยชน์ที่ดิน บนดิน และ ใต้พื้นดินในอาณาเขตของตัวเองได้
2. เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะต้อง ไม่ทำสิ่งปลูกสร้าง อื่นใ ดที่ทำให้ น้ำฝนตกลงไปยัง ทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่อยู่ติดกัน
3. ห้ามขุด ที่ดินในระยะ เมตร จากที่ดินของบุคคลอื่น เนื่องจากอาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย จากการพังทลาย หรือ ความเสียหายอื่น ๆ จากการใช้ประโยชน์จากการชุดที่ดินดังกล่าว
4. ห้าม ขุดดิน หรือ บรรทุก น้ำหนัก บนพื้นดินเกินควร จนส่งผลกระทบต่อที่ดินที่อยู่ติดกัน เว้นแต่จะต้องมีการจัดการอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
5. รั้ว กำแพง รั้วต้นไม้ คู ที่ใช้เป็นแนวเขตที่ดินในทางกฏหมายถือว่า เจ้าของที่ดินทั้งสองฝั่ง เป็นเจ้าของร่วมกัน ดังนั้น เจ้าของ ที่ดินฝั่ง หนึ่งฝั่งใด มีสิทธิตัดรั้วต้นไม้ หรือ ถมคูได้ จนถึงแนวที่ดินของตนเอง แต่ทั้งนี้ ต้องทำกำแพง หรือ ทำรั้วตามแนวเขตนั้นด้วย
6. ถ้า มีต้นไม้อยู่แนวเขตที่ดิน กฏหมายถือว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองฝั่งเป็นเข้าของต้นไม้ร่วมกัน ดังนั้นดอกผล จึงเป็นเจ้าของเท่า ๆ กันกรณีมีการตัดตั้นไม้นั้น ไม้ก็จะเป็นของเจ้าของที่ดินคนละส่วนเท่า ๆ กันค่าใช้จ่ายกรณีที่แต่ละฝ่ายต้องการให้ตัด หรือ ขุดดิน ก็จะต้องจ่ายฝ่ายละเท่ากัน แต่ถ้าเจ้าของอีกฝ่ายหนึ่งสละสิทธิในต้นไม่ ผู้ที่ต้องการตัดก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายฝ่ายเดียว ยกเว้นกรณีต้นไม้ เป็นหลักเขตสำคัญ ถ้าโค่น แล้วจะทำให้หลักเขตหายไป กรณีนี้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะต้องการให้ชุด หรือ ตัดต้นไม้ไม่ได้
7. เจ้า ของที่ดินสามารถตัดรากไม้ ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อได้ แต่ถ้าเป็นกรณีกิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา จะต้องบอกกล่าวผู้ครอบครองทีดินติดต่อให้ตัดกิ่งไม้นั้นในเวลาอันควร ก่อน หากเจ้าของที่ดิน ติดต่อไม่ยอมตัด จึงจะสามารถตัดกิ่งไม้ได้
8. ดอกผลต้นไม้ที่หล่นตามธรรมชาติ ลงในที่ดินแปลงใด ก็ให้ถือเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น
9. ที่ดิน แปลงใด มีที่ดินแปลงอื่นห้อมล้อมอยู่จนไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้กฏหมายกำหนดให้ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธาณะได้
10. เจ้า ของที่ดินริมทางน้ำ หรือ มีทางน้ำผ่านไม่มีสิทธิจะชักเอา น้ำไว้กินเกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของตนตามสมควร จนเป็นเหตุเสื่อมแก่ที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ตามทางน้ำนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น